สรุปหลักภาษาไทย
|
|
หลักภาษาไทย
อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ ลักษณะอักษร เสียงในภาษาไทย มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1. เสียงแท้ ได้แก่ สระ 2. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ 3. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์
สระ สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ 21 รูป และเสียงสระ 32 เสียง พยัญชนะ รูปพยัญชนะ มี 44 ตัว คือ 1. อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห 2. อักษรกลาง มี 9 ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ 3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ 3.1 อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ 3.2 อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
วรรณยุกต์ วรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่ 1. ไม้เอก 2. ไม้โท 3. ไม้ตรี 4. ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี 5 เสียง 1. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน 2. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด 3. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง 4. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด 5. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
คำเป็นคำตาย
คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กื กู
คำตาย คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา เช่น กะ กิ กุ
คำสนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำหรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท เช่น ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม มหา + อิสี เป็น มเหสี
คำสมาส คือ การนำคำประสมตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, ความหมายคงเดิมก็มี เช่น ราช + โอรส เป็น ราชโอรส สุธา + รส เป็น สุธารส คช + สาร เป็น คชสาร
คำเป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา
อักษรควบ คือพยัญชนะ 2 ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา
อักษรควบแท้ คือคำที่ควบกับ ร ล ว เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป ควาย ขวาง วิ่ง วน ขวักไขว่ กวัดแกว่ง ขวาน ไล่ ล้ม คว่ำ ขวาง ควาย.
อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร 2 ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
อักษรนำ คือ พยัญชนะ 2 ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออก เสียงร่วมกันเช่น หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือบางคำออกเสียงเหมือน 2 พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง แต่พยัญชนะ 2 ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะ ดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก
คำมูล คือ คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด
คำประสม คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น แม่ + น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล หาง + เสือ = หางเสือ แปลว่า ที่บังคับเรือ ลูก + น้ำ = ลูกน้ำ
พยางค์ คือ ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้ พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ 1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ เช่น ตา ดี ไป นา 2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด เช่น คน กิน ข้าว หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์ เช่น โลห์ เล่ห์ 3. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์ พยางค์แบบนี้เรียกว่า ประสม 5 ส่วน
วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น 1. ประโยค 2 ส่วน ประธาน + กริยา นก บิน 2. ประโยค 3 ส่วน ประธาน + กริยา + กรรม ปลา กิน มด
การสะกดคำ การเขียนคำ
เป็นข้อสอบที่ออกสอบทุกครั้งและออกสอบหลายข้อ ผู้สอบส่วนมากถ้าไม่เก่งภาษาไทยจริง ๆ มักเขียนผิดเสมอ ๆ เพราะไม่มีแนวหรือหลักในการจำ ยิ่งถ้าเจอคำหลายคำในตัวเลือกเดียวยิ่งลำบาก พาลจะกาข้อสอบมั่วให้เสร็จ เป็นอันตรายสำหรับการสอบแข่งขัน ต่อไปนี้เป็นแนวทางที่จะช่วยจำและทำแบบทดสอบในสาระการสะกดและเขียนคำได้ (ควรท่องให้จำอย่างยิ่ง รับรองหน้านี้ มีข้อสอบไม่ต่ำกว่า 10 ข้อ ข้อความต่อไปนี้ คัดมาจาก หนังสือ หลักภาษาไทย ของ อาจารย์ กำชัย ทองหล่อ ด้วยความเคารพยิ่ง ก่อนอ่าน ก่อนจำ ก่อนสอบ หากจะระลึกถึงพระคุณของ อาจารย์กำชัย ทองหล่อ ด้วยก็จะช่วยให้เรามั่นใจในการทำข้อสอบมากยิ่งขึ้น
พยางค์ที่ออกเสียงสระ ออ ได้แก่ (นิรันดร จรลี ทรชน นรสิงห์ วรลักษณ์ หรดี บริวาร)
พยางค์ที่ออกเสียง อำ ได้แก่ (อมฤต อำมฤต อมหิต อมรินทร์)
พยางค์ที่ออกเสียง ใอ (ไม้ม้วน) นอกเหนือจาก 20 คำนี้ให้ใช้ สระ ไอ (ไม้มลาย)
1. ใช้สระไอ ไม้ม้วน มี 20 คำ คือ (ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ ใหล)
คำที่มี ญ สะกด มี 46 คำ คือ
ลำเค็ญครวญเข็ญใจ ควาญช้างไปหานงคราญ เชิญขวัญเพ็ญสำราญ ผลาญรำคาญลาญระทม เผอิญเผชิญหาญ เหรียญรำบาญอัญขยม รบราญสราญชม ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ ประจญประจัญบาน ผจญการกิจบังเอิญ สำคัญหมั่นเจริญ ถือกุญแจรัญจวนใจ รามัญมอญจำเริญ เขาสรรเสริญไม่จัญไร ชำนาญชาญเกรียงไกร เร่งผจัญตามบัญชา จรูญบำเพ็ญยิ่ง บำนาญสิ่งสะคราญตา ประมวญชวนกันมา สูบกัญชาไม่ดีเลย.
การเขียน บัน และ บรร คำไทยที่ใช้ บัน นำหน้า คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนบทนี้นี้ให้ใช้ บรร
บันดาลลงบันได บันทึกให้ดูจงดี รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง บันโดย บันโหยให้ บันเหินไปจากรวงรัง บันทึงถึงความหลัง บันเดินนั่งนอนบันดล บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน คำ บัน นั้น ฉงน ระวังปน กับ ร - หัน.
ตัว ทร ที่ ออกเสียง ซ มีใช้อยู่ 17 คำ
ทรวดทรงทราบทรามทราย ทรุดโทรมหมายนกอินทรี มัทรี อินทรีย์มี เทริด นนทรี พุทราเพรา ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด โทรมนัสฉะเชิงเทรา ตัว ทร เหล่านี้เรา ออกสำเนียงเป็นเสียง ซ คำไทยที่ใช้ จ สะกด ตำรวจตรวจคนเท็จ เสร็จสำเร็จระเห็จไป สมเด็จเสด็จไหน ตรวจตราไวดุจนายงาน อำนาจอาจบำเหน็จ จรวดระเห็จเผด็จการ ฉกาจรังเกียจวาน คนเกียจคร้านไม่สู้ดี แก้วเก็จทำเก่งกาจ ประดุจชาติทรพี โสรจสรงลงวารี กำเหน็จนี้ใช้ตัว จ.
คำที่ใช้ ช สะกด มีอยู่คำเดียว คือ กริช
คำที่ใช้ ร สะกด กำธร จรรโจษ จรรโลง สรรเสริญ อรชร พรรลาย พรรเอิญ ควร ประยูร ระเมียร ละคร พรรดึก
คำไทยที่ใช้ ตัว ล สะกด เช่น ตำบลยุบลสรวล ยลสำรวลนวลกำนัล บันดาลในบันดล ค่ากำนลของกำนัล ระบิลกบิลแบบ กลทางแคบเข้าเคียมคัล ดลใจให้รางวัล ปีขาลบันเดินเมิลมอง.
คำไทยที่ใช้ ส สะกด เช่น จรัส จรส จำรัส ดำรัส ตรัส ตรัสรู้
คำไทยที่ใช้ ง สะกด ต่อไปนี้ไม่ต้องมี ค การันต์ (คำพวกนี้มักเขียนผิดบ่อย ๆ ) จำนง ชงโค ดำรง ธำรง ประมง ประโมง พะทำมะรง พะอง สะอาง สำอาง
การอ่านออกเสียง ตัวอย่างการอ่านออกเสียง
กรณี = กะ - ระ - นี, กอ - ระ- นี ปรปักษ์ = ปะ - ระ - ปัก, ปอ - ระ ปัก กรกฎ = กอ - ระ - กด ธรณี = ทอ - ระ - นี มรณา = มอ - ระ - นา
คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค และมีพยัญชนะที่ตัวตามซึ่งเรียกว่าตัวตามเป็นพยัญชนะวรรคด้วย หรือ เป็น ศ ษ ส มักไม่ต้องออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เช่น
อัปสร = อับ - สอน สัปดาห์ = สับ - ดา
ถ้าตัวสะกด เป็น ย ร ล ว ศ ษ ส ให้ออกเสียง อะ ตาม หลัง เป็นเสียง อะ ไม่เต็ม เสียง เช่น
ไอยรา = ไอ - ยะ - รา มารยาท = มา - ร - ยาด กัลปาวสาน = กัน - ละ ปา - วะ - สาน ศุลกากร = สุน - ละ - กา - กอน บุษบา = บุด - สะ - บา ศิษยานุศิษย์ = สิด - สะ - ยา - นุ - สิด พิสดาร = พิด - สะ - ดาน ทฤษฎ๊ = ทริด - สะ - ดี แพศยา = แพด - สะ - หยา ขนิษฐา = ขะ - นิด - ถา สันนิษฐาน = สัน - นิด - ถาน อธิษฐาน = อะ - ทิด - ถาน
คำที่มาจากภาษาบาลีบางคำ ก็ออกเสียง อะ ตามหลังตัวสะกด เป็นเสียงไม่เต็มมาตรา เช่น
ลัคนา = ลัก - ขะ - นา อัคนี = อัก - คะ - นี อาตมา = อาด - ตะ - มา อาชยา = อาด - ชะ - ยา ปรัชญา = ปรัด - ชะ - ยา
คำสมาส คำสมาส คือคำที่มาจากบาลีสันสกฤต ตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายเนื่องกับคำเดิม เช่น
ราชการ (ราช + การ) = ราด - ชะ - กาน จุลสาร (จุล + สาร) = จุล - ละ - สาน สารคดี (สาร - คดี) = สา - ระ - คะ - ดี ชาติภูมิ (ชาติ + ภูมิ) = ชาด - ติ พูม
มีคำสมาส บางคำไม่นิยม อ่านออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น ธนบุรี = ทน - บุ - รี สมุทรปราการ = สมุด - ปรา - กาน ธาตุวิเคราะห์ = ทาด - วิ - เคราะ
คำสมาส ที่ออกเสียงได้ ทั้ง 2 อย่าง เช่น เกตุมาลา = เกด - มา - ลา, เกด - ตุ - มา - ลา ราชบุรี = ราด - บุ - รี , ราด - ชะ - บุ - รี ประถมศึกษา = ประ - สึก - สา , ประ - มะ - สึก - สา เพชรบุรี = เพ็ด - บุ - รี , เพ็ด - ชะ - บุ - รี
บางคำไม่ใช่คำสมาส แต่นิยมออกเสียงอย่างคำสมาส เช่น เมรุมาศ = เม - รุ - มาด มูลค่า = มูล - ละ - ค่า คุณค่า = คุน - นะ - ค่า ทุนทรัพย์ = ทุน - นะ - ซับ พลเรือน = พน - ละ - เรือน
อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร
คำ - วิธีเขียน วิธีอ่าน 1 วิธีอ่าน 2 ความหมาย เกษตรศาสตร์ กะ - เสด - ตระ - สาด - วิชาว่าด้วยเกษตรกรรม เกษียน กะ - เสียน - ข้อความที่เขียนแทรก เกษียณ กะ - เสียน - เกษียณอายุราชการ เกียรติประวัติ เกียด - ติ - ประ - หวัด เกียด - ประวัติ - ขยุกขยิก ขะ - หยุก - ขะ - หยิก - ไม่อยู่นิ่ง ๆ คมนาคม คะ - มะ - นา - คม คม - มะ - นา - คม คฤหัสถ์ คะ - รึ - หัด - ผู้ครองเรือน คฤหาสน์ คะ- รึ - หาด - เรือนอันสง่าผ่าเผย
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น